การเลื่อนแกนทางขนาน


การเลื่อนแกนทางขนาน









การเลื่อนแกนทางขนาน
 เมื่อกำหนดให้  O (0, 0) เป็นจุดกำเนิดของแกนเดิม  (แกน X และแกน Y) และ  O'(h, k) เป็นจุดกำเนิดของแกนใหม่  (แกน X' และแกน Y')
พิกัดของจุด P เทียบกับแกนเดิม  คือ (x, y).พิกัดของจุด P เทียบกับแกนใหม่  คือ (x', y')
จะได้ว่า      x = x'+ h   หรือ  x' = x - h
                   y = y'+ k   หรือ  y' = y - k
ตัวอย่างที่ 1     ถ้าเลื่อนแกนไปโดยใช้จุด (-2, 3) เป็นจุดกำเนิดใหม่  ซึ่ง A(0, 2), B(-5, 4) , C(4, -1) และ  D(-3, -5)  เป็นพิกัดของจุดเมื่อเทียบกับแกนพิกัดเดิม  จงหาพิกัดของจุดเหล่านี้เมื่อเทียบกับแกนพิกัดใหม่
วิธีทำ  ให้ (x, y)   เป็นพิกัดของจุดเมื่อเทียบกับแกนพิกัดเดิม
             ให้ (x', y')   เป็นพิกัดของจุดเมื่อเทียบกับแกนพิกัดใหม่
                 ในที่นี้ (h, k) = (-2, 3) นั่นคือ  h = -2  ,   k = 3
                        จาก      x' = x - h       ,        y' = y - k
                        จะได้    x' = x - (-2)   ,        y' = y - 3
                                         x' = x + 2
        1)  A(0, 2)    ซึ่ง    x  =  0  ,   y  =  2
                               จะได้    x' = 0 + 2 = 2    ,        y' = 2 - 3 = -1
                 ดังนั้น  พิกัดจุด     A(0, 2)  เมื่อเทียบกับแกนพิกัดใหม่  คือ จุด (2, -1)
        2)  B(-5, 4)    ซึ่ง    x  =  -5  ,   y  =  4
                               จะได้    x' = -5 + 2 = -3    ,        y' = 4 - 3 = 1
                 ดังนั้น  พิกัดจุด     B(-5, 4)  เมื่อเทียบกับแกนพิกัดใหม่  คือ จุด (-3, 1)
        3)  C(4,-1)    ซึ่ง    x  =  4  ,   y  =  -1
                               จะได้    x' = 4 + 2 = 6    ,        y' = -1 - 3 = -4
                 ดังนั้น  พิกัดจุด     C(4,-1)  เมื่อเทียบกับแกนพิกัดใหม่  คือ จุด (6, -4)
        4)  D(-3, -5)    ซึ่ง    x  =  -3  ,   y  =  -5
                               จะได้    x' = -3 + 2 = -1    ,        y' = -5 - 3 = -8
                 ดังนั้น  พิกัดจุด    D(-3,-5)  เมื่อเทียบกับแกนพิกัดใหม่  คือ จุด (-1, -8)
ตัวอย่างที่ 2     ถ้าเลื่อนแกนไปโดยใช้จุด (3, -4) เป็นจุดกำเนิดใหม่  ซึ่ง P(-4, 3),
Q(-5, -2)  และ  R(2, 7) เป็นพิกัดของจุดเมื่อเทียบกับแกนพิกัดใหม่ จงหาพิกัดของจุดเหล่านี้เมื่อเทียบกับแกนพิกัดเดิม
วิธีทำ  ให้ (x, y)   เป็นพิกัดของจุดเมื่อเทียบกับแกนพิกัดเดิม
             ให้ (x', y')   เป็นพิกัดของจุดเมื่อเทียบกับแกนพิกัดใหม่
                 ในที่นี้ (h, k) = (3, -4) นั่นคือ  h = 3  ,   k = -4
                        จาก      x = x' + h       ,        y = y' + k
                        จะได้    x = x' + 3       ,        y = y' + (-4)
                                                                                  y = y' - 4
        1)  P(-4, 3)    ซึ่ง    x'  =  -4  ,   y'  =  3
                               จะได้    x = -4 + 3 = -1    ,        y = 3 - 4 = -1
                 ดังนั้น  พิกัดจุด     P(-4, 3)  เมื่อเที่ยบกับแกนพิกัดเดิม  คือ จุด (-1, -1)
        2)  Q(-5, -2)    ซึ่ง    x'  =  -5  ,   y'  =  2
                               จะได้    x = -5 + 3 = -2    ,        y = -2 - 4 = -6
                 ดังนั้น  พิกัดจุด     Q(-5, -2)  เมื่อเที่ยบกับแกนพิกัดเดิม  คือ จุด (-2, -6)
        3)  R(2, 7)    ซึ่ง    x'  =  2  ,   y'  =  7
                               จะได้    x = 2 + 3 = 5    ,        y = 7 - 4 = 3
                 ดังนั้น  พิกัดจุด     R(2, 7)  เมื่อเที่ยบกับแกนพิกัดเดิม  คือ จุด (5, 3)